วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 15

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 15

ประจำวันศุกร์ ที่ 27 เดือน กันยายน พ.ศ. 2556


กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้คือ 
การทำแผนความคิดรวบยอด สรุป ความรู้ที่ได้ศึกษามาทั้งหมด




สิ่งที่ได้รับจากการศึกษาในรายวิขานี้

                ทำให้ดิฉันได้ทบทวน ความรู้ทั้งหมดที่ได้ศึกษามา ในรายวิชา การจัดประสบการณ์ ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  เนื้อหาที่ได้เรียน เช่น การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านภาษา , การจัดมุมการเรียนรู้ในชั้นเรียน , การทำสื่อเพื่อพัฒนาภาษา ได้แก่ บัตรคำ รูปภาพ และสื่อบัตรคำเกี่ยวกับ อาเซียน เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14

วันศุกร์ ที่ 20 เดือน กันยายน พ.ศ. 2556

           กิจกรรมในการเรียนการสอนวันนี้ คือ อาจารย์ ฉายวีดีโอ โทรทัศน์ ครู  เรื่อง Whole Language 
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นทางด้านภาษา โดยโรงเรียนเกษมพิทยา ได้มีแนวคิดที่ว่า  การจัดการสอนที่เน้นทักษะ ไวยกรณ์ หรือการฝึกฝนที่หนักเกินไป เด็กก็จะยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้  ควรสอนโดยเน้น ความหมาย การสื่อสาร และการนำไปใช้ ภาษาธรรมชาติ ระบบความเชื่อ ปรัชญา เป็นองค์รวมที่เด็กต้องเข้าใจ คิดอย่างธรรมชาติ และสอนอย่างธรรมชาติ  เช่นสอนโดยการให้เด็กๆ สำรวจว่า มีเพื่อนมาเรียนกันกี่คน 

ต้นแบบที่ดี     >> จะต้องพูด สื่อสารชัดเจน ถูกต้อง 
                      >> ก่อนที่จะรู้จัก  ก-ฮ  ได้อย่างมีความหมาย คือ สอนตัวพยัญชนะ ชื่่อของเด็กๆ
                     >>  อย่าคาดหวังให้เด็กมีพัฒนาการ การเรียนรู้ ที่เหมือนกันทั้งห้อง เพราะเด็ก 
                           ทุกคนต่างกัน
          การเรียนการสอน จะต้องบูรณาการได้ กับทุกกิจกรรม และบูรณาการในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  นวัตกรรมภาษาธรรมชาติ เริ่มจากความสนใจ ของเด็กๆ เช่นวันนี้เด็กได้ยินเสียงกบร้อง  เด็กก็ได้เรียนรู้ในสิ่งที่เขาอยากเรียน เช่นการกระโดดของกบ เป็นต้น
          การส่งเสริมภาษาให้กับเด็ก  เช่น ครูถามเด็กๆ ว่า "กบกินอะไรเป็นอาหาร" ซึ่งจะร่วมมือกับผู้ปกครอง  เพระาเด็กก็จะนำคำถามที่ครูถาม กลับมาถามผู้ปกครอง  เพื่อพัฒนาภาษา ด้านการฟัง และการพูด 
          การเล่านิทานให้ฟัง เด็กก็จะได้เรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ  การพูด และการเรียงลำดับประโยค  จะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาที่ดีขึ้น 
การอ่าน >> การอ่านเพื่อถอดรหัส
              >> การอ่านรูปแบบอิสระ
              >> การอ่านร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่

          การอ่านให้เด็กๆ ฟัง ในครั้งแรก คือการอ่านให้เด็กเข้าใจเรื่องราว ยังไม่ต้องถาม หรือให้เด็กพูดตาม
          การฝึกการเขียน สามารถฝึกได้จากการทำกิจกรรม เช่น ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเขียน 
เพื่อการพัฒนาด้านภาษา การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เช่น เมื่อเด็กเขียนไม่ถูก ครูจะต้องไม่บอกกับเด็กว่า "เขียนผิด"  เพราะจะทำให้เด็กไม่อยากเขียนอีกเลย  ครูจะต้องเปิดโอกาศให้เด็กได้สะสมประสบการณ์ ให้เด็กเป็นผู้ฟัง ผู้พูด ผู้อ่าน และผู้เขียน ที่มีคุณภาพได้

          กิจกรรมในการเรียนการสอนวันนี้ คือ ให้แต่ละกลุ่ม ออกแบบการจัดประสบการณ์ 
โดยจะมีแบบฟอร์มการเขียน ดังนี้ 

เรื่อง................................
วัตถุประสงค์.....................
สาระการเรียนรู้ (1. ตัวเด็ก  2. บุคคล และสถานที่แวดล้อมเด็ก  3. ธรรมชาติรอบตัว  4. สิ่งต่างๆรอบตัว)
วิธีการดำเนินการ 
ขั้นนำ .........................
ขั้นสอน.......................
ขั้นสรุป........................
การประเมิน ................



เขียนหน่วยเรื่องกระต่าย แบ่งออกเป็น อาหาร         >> แครอท , ผักบุ้ง , ต้นหญ้า
                                                             ลักษณะ       >> หูยาว , ฟันขาว ,ขนฟู , ตาแป๋ว
                                                             ที่อยู่อาศัย   >> โพรงดิน



บรรยากาศ การทำงานเป็นกลุ่ม ^^  สร้างความสามัคคี ร่วมมือกัน 
การพูดคุย ปรึกษา และการรับฟังความเห็นของเพื่อนๆ





การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน และรับฟังคำติชม จากอาจารย์ ผู้สอน

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13



บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันศุกร์ที่ 13  เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมในการเรียนของวันนี้คือ 
การจัดมุมประสบการณ์ที่สามารถเชื่อมโยงกับการส่งเสริมพัฒนาด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

โดยอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 - 6 คน เพื่อช่วยกันคิดว่าจะทำมุมอะไร  และกลุ่มของดิฉันก็ จัดทำ 

"มุมข้าว"



ทำแปลงนาข้าว  โดยเริ่มจากแปลง ต้นกล้า >> ต้นข้าว >> รวงข้าว
เพื่อให้เด็กๆ ได้รู้จัก และเห็นถึงการเจริญเติบโต ของต้นข้าว 


เด็กๆ จะได้รู้จัก "หุ่นไล่กา"  ว่า หุ่นไล่กาจะช่วยไล่นก ไม่ให้ไปกินข้าว 
โดยจะเขียนคำว่า หุ่น ไล่ กา(คำว่ากา เป็นรูปภาพ) เพื่อให้เด็กได้ถอดรหัสคำ



ภาพสำเร็จ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เรื่อง ข้าว

              ทางซ้ายมือ จะจัดเรียนรู้เกี่ยวกับ วัฏจักรของข้าว เช่น การแช่เมล็ดข้าว การหว่านข้าว การดำนา แล้วเป็นต้นข้าว ต่อมาข้าวออกรวงแล้วมีชาวนาเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งในแต่ละช่วงจะมี ตัวอักษรกำกับซึ่งสั้น และง่ายต่อการเรียนรู้ เช่น หว่านข้าว ก็จะมีคำว่า หว่าน และ มีรูปข้าว อยู่ต่อท้าย เด็กก็สามารถถอดรหัสคำง่ายๆได้  และทางขวามือจะเป็นแปลงนาจำลอง เด็กก็จะได้เรียนรู้ มีเมล็ดข้าวของจริงให้เด็กๆดู และสามารถสัมผัสได้ เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ผ่านการเล่นในมุมข้าว 

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันศุกร์ที่ 6 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556


 กิจกรรม ร้องรำทำเพลง
                                             
             พ่อกระต่าย แม่กระต่าย ลูกกระต่าย
     มีบ้านอยู่ตามโพรงดินในป่า
     ชอบกินๆ ยอดผัก ชอบนักก็ต้องยอดหญ้า
     ชอบวิ่งไปมา ตล๊อบ ตล๊อบ
             พ่อกระต่าง แม่กระต่าย ลูกกระต่าย
    อยู่กันอย่างสบายในป่า
    เพื่อนบ้านเขาเป็นนกกา เพื่อนรักเขาเป็นตัวตุ่น
    วิ่งเล่นกันชุลมุน ตล๊อบ ตล๊อบ





การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

          - สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคย กับการใช้ภาษาอย่างมีความหมาย และเป็นองค์รวม
          - เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา โดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา

หลักการและความสำคัญ ของการจัดสภาพแวดล้อม (หรรษา นิลวิเชียร . 2535)
 - สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจปฏิบัติจริง เป็นผู้กระทำด้วยตนเองเปิด
  โอกาสให้เด็ก เป็นอิสระ ได้สังเกต และตั้งสมมติฐาน
- สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริม การมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างเด็กกับบุคคลรอบข้าง 
-สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบ ต่างๆ
 โดยคำนึงถึงความหมาย ที่เด็กต้องการสื่อ มากกว่า ความถูกต้องทางไวยกรณ์
- สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วย ความหลากหลาย ทั้งด้านวาจา และไม่ใช่วาจา
  เด็กควรได้รับการมีประสบการณ์ และปฏิสัมพันธ์ หลายๆรูปแบบ

มุมประสบการณ์ที่สนับสนุน การเรียนรู้ และสาระทักษะ ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
 มุมหนังสือ
        มุมศิลปะดนตรี
           มุมบทบาทสมมติ
   ฯลฯ

ลักษณะการจัดมุม ในชั้นเรียนที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา

 - มีพื้นที่ให้เด็กามารถทำกิจกรรมได้
  - เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้เล่นในมุม
  - บริเวณใกล้ๆ มีอุปกรณ์ เครื่องเขียน  
                  - เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน และการออกแบบ

มุมหนังสือ

- มีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆ ที่เหมาะสมกับวัย
                                           - มีบรรยากาศที่สงบ อบอุ่น
                                           - มีพื้นที่ ในการอ่านตามลำพัง และเป็นกลุ่ม
                                           - มีอุปกรณ์ สำหรับการเรียน



มุมบทบาทสมมติ

                                          - มีสื่ออุปกรณ์ที่ทำให้เด็กเข้าไปเล่นได้
                                          - มีพื้นที่ ที่เพียงพอ


มุมศิลปะ
                                         - จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น สีเมจิ
                                            ดินสอ ยางลบ ตรายาง ซองจดหมาย
                                         - กรรไกร กาว สำหรับตัด และแปะ
                                          - มีพื้นที่ให้เด็กทำกิจกรรม



มุมดนตรี

   - มีเครื่องดนตรี ที่เป็นทั้งของเล่น และของจริง เช่น
กลอง ฉิ่ง ระนาด ขลุ่ย กรับ เครื่องเคาะจังหวะ



สื่อนับสนุนการเรียนรู้ และสาระทักษะทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย
                                                     - สื่อของจริง
                                                     - สื่อจำลอง
                                                     - ภาพถ่าย
                                                     - ภาพโครงสร้าง
                                                     - สัญลักษณ์

การจัดแสดงสื่อภายในห้องเรียน


                                  ให้นักศึกษา ฝึกคัดพยัญชนะ ก-ฮ   หัวกลมตัวเหลี่ยม
                         เพื่อนำไปใช้ในการสอนเด็กๆ เพราะเด็กอนุบาล จะจดจำภาพ 
                         และวิธีการเขียนจากครู  ครูจึงจะต้องเขียนให้สวย และถูกต้อง







บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันศุกร์ที่ 30 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556

การจัดการเรียนการสอนในวันนี้
            แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน  ให้นักศึกษา ช่วยกันออกแบบสื่อการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา  วาดภาพ ระบายสี ลงในกระดาษ พร้อมเขียน วิธีการเล่น ประโยชน์ และให้ยกตัวอย่างนักทฤษฎี ที่ได้กล่างถึงการใช้สื่อ เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา

สื่อ ลูกเต๋าผสมพยัญชนะและ สระ





 กิจกรรม ร้อนเล่นเต้นรำ เพลงหนอน

                            กระดืบ กระดืบไป กระดืบ กระดืบมา
                            กระดืบ กระดืบไป บนใบไม้อ่อน 
                            กัดกิน กิน อิ่มแล้วก็นอน
                            แล้วเจ้าหนอนก็ชักใยหุ้มตัว
                            กระดืบ กระดืบ กระดืบ ดื๊บ ดื๊บ




บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันศุกร์ที่ 23 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556

การจัดการเรียนการสอนในวันนี้ 

มีกิจกรรมให้เล่น  เป็นเกม จะให้นักศึกษามองภาพให้เข้าใจ 
ซึ่งในแต่ละภาพจะมีความหมายแฝงเอาไว้ และตอบให้ถูกว่าเป็นภาพอะไร 







สื่อ


1. สื่อการเรียนรู้ทางภาษา 
     -วัสดุอุปกรณ์
     -ใช้เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม
     - เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้
     - เครื่องมือที่ครูสร้าง
     - แนวคิด ทักษะประสบการณ์ เจตคติ
     
     =>  ถ้าเด็กไม่ทานผัก เราก็สามารถแก้ไขได้โดยการ เล่านิทาน 
                    เพื่อสร้างเสริมเจตคติที่ดี ว่าการทานผักจะทำให้ร่างกายแข็งแรง



                 

 2. ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
       - เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
           - เข้าใจได้ง่าย
           - เป็นรูปธรรม
           - สามารถจดจำได้ง่าย 

 3. ประเภทของสื่อการเรียนรู้
      3.1 สื่อสิ่งพิมพ์  - หนังสือนิทาน
                                -  หนังสือพิมพ์
                                - แผ่นพับ
                                - พจนานุกรมรูปภาพ 

          =>  หนังสือพิมพ์ เช่น ตัดหัวข้อข่าวให้เด็กๆ ดูพยัญชนะ
                ที่เหมือนกัน หรือให้ยกตัวอย่างว่ามีตัวอะไรบ้าง
        3.2 สื่อ วัสดุอุปกรณ์  - สิ่งของต่างๆ
               - ของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ ตารางสถิติ สมุดภาพ หุ่นมือ                                                                                     
        3.3 สื่อโสตทัศนูปกรณ์ 
                - สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ ต่างๆ
                - คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น
         3.4 สื่อกิจกรรม 
                - วิธีที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ ทักษะ
                - ใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญ สถานการณ์ 
                - เกม เพลง การสาธิต สถานการณ์จำลอง การแสดงละคร 
                  การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงาน และทัศนศึกษา
          3.5 สื่อบริบท
                - สื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์
                - สภาพแวดล้อม
                - ห้องเรียน บุคคล ชุมชน วัฒนธรรม

กิจกรรม เพื่อฝึกการฟังเสียง อาจารย์ เปิดเสียงสัตว์ ให้ฟัง ได้แก่

            เสียงหมา               เสียงม้า
            เสียงแมว               เสียงแม่ไก่
            เสียงหมู                 เสียงลา
            เสียงวัว                  เสียงแกะ
            เสียงไก่                  เสียงเป็ด

กิจการประดิษฐ์สื่อการเรียนรู้ เพื่อส่งเสิมทักษะทางภาษา
วาดภาพ ระบายสี และเขียนคำศัพท์ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ


สื่อบัตรคำตั้งโต๊ะ





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันศุกร์ ที่ 16 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556

การจัดการเรียนการสอนในวันนี้ 

แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม ประดิษฐ์สื่อการเรียนรู้ 
เป็นสื่อเกี่ยวกับการต้อนรับเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

กลุ่มที่ 1 ประดิษฐ์ ธงประจำประเทศ ในอาเซียน 




กลุ่มที่ 2  Pop Up กบอ้าปาก พร้อมเขียนคำพูด การทักทายในภาษาอาเซียน






กลุ่มที่ 3 ประดิษฐ์ หุ่นนิ้วมือ






กลุ่มที่ 4 ประดิษฐ์สื่อเชิญธงชาติอาเซียน




การจัดการเรียนการสอนในวันนี้ เป็นการประดิษฐ์สื่อที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้รู้จัก
 ธง, การทักทายและ การแต่งกาย ของแต่ละประทศ ในอาเซียน 


1. ฝึกการสังเกตสัญลักษณ์ และสี ของธงชาติ
2. ทำให้เด็กรู้จักการทักทาย ในภาษาของแต่ละประเทศ ในอาเซียน
3. รู้จักความแตกต่าง ของการใช้ภาษา ต่างประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8


                 
     วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556 

                   การเรียนการสอนวันนี้ 
          กิจกรรมที่ 1 การถอดรหัสคำ ปลา + ทอง = ปลาทอง


                     

                    สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้คือ  ฝึกให้เด็กสามารถตีความหมายจากภาพ หรือสัญลักษณ์ได้ และ ฝึกให้เด็กคิดกล้าแสดงความคิดเห็น ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ ให้แก่เด็กได้เต็มความสามารถ


กิจกรรมที่ 2  กิจกรรมแต่งเพลงดิฉันเลือกจังหวะของเพลงช้าง " เพลงยิ้ม"

                                

" ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
 หนูชอบยิ้มหวานเหลือเกิน
 ชอบยิ้มเวลาแอบเขิน    
 มีสุขเหลือเกินที่ได้ยิ้ม
 ยิ้มเล็ก ยิ้มน้อย ยิ้มจากใจ
 ยิ้มหวานสดใสชุ่มช่ำ "

--> วัตถุประสงค์เพลงนี้คือ เพลงเด็กแต่ละเพลงย่อมดีจังหวะ เนื้อร้อง และทำนองแตกต่างกัน การที่เราจะนำเพลงมาประยุกต์ใช้ เราควรคำนึงว่าเราสอดแทรกเรื่องใดเข้าไปในเนื้อเพลง และในเพลงยิ้มนี้ได้นำจังหวะของเพลงช้างที่เราคุ้นเคยกันอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้ และสอดแทรกในเรื่องของการแสดงอารมณ์ในการแสดงของการยิ้ม ยิ้มอย่างมีความสุข คือยิ้มจากใจจริง เวลาเด็กมีอารมณ์ที่ไม่ดีเราสามารถนำบทเพลงนี้ไปใช้ได้ และเด็กสามารถคิดท่าทางประกอบการยิ้มของแต่ละคนอย่างมีความสุขได้
--> สิ่งที่ได้รับ คือ มีความสุขในการคิดเนื้อเพลง การร้อยเรียงภาษาให้สวยงามและเข้ากับจังหวะ การฝึกการใช้คำง่ายๆมาประยุกต์ใช้กับเด็กให้เกิดความเข้าใจในเนื้อเพลงและสนุกสนานกับกิจกรรม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันศุกร์ที่ 2 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556

วันนี้ไม่มีการจัดการเรียนการสอน 
เนื่องจากวันที่ 30 กรกฎาคม - 5 สิงหาคม 2556  อยู่ในช่วงสอบกลางภาค 

              -   ได้ใช้ภาษาสื่อสารในการฟัง และการสอบถาม จากอาจารย์คุมสอบ ซึ่งอาจารย์คุมสอบ
                  ได้บอกถึงกฎระเบียบ ในการสอบ ได้สื่อสารกับนักศึกษาได้เข้าใจตรงกัน 











ตั้งใจอ่านหนังสือ สู้ๆ ค่ะ  >_<


วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 

วันศุกร์ที่ 26 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556                                                  

    วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรม คือ
  กิจกรรมที่ 1 ให้ทำสื่อการสอนเพื่อพัฒนาทางด้านภาษาของเด็ก กลุ่มของดิฉันทำ อุปกรณ์เครื่องครัว 
- สิงที่ได้รับคือ  เด็กได้เรียนรู้ว่าอุปรณ์ในครัวเรือน คืออะไร มีอะไรบ้าง หลักการใช้งานเป็นอย่างไร และที่สำคัญคือ เด็กได้เรียนรู้ภาษา เช่น คำว่า หม้อ เขียนอย่างไร ทำให้เด็กเกิดประสบการณ์ในการฟัง การสังเกต และสามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ และมีความสนุกสนานในการเรียน 
           ตัวอย่าง -->

กิจกรรมที่2 ให้นำเพลงกล่อมเด็กมาขับร้องเป็นกลุ่มและกลุ่มของดิฉันขับร้องในเพลง โยกเยก
บทเพลงกล่อมเด็ก ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางภาษา และจังหวะ ทำนองของเพลง แต่ละเพลงก็จะแสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละภาค ซึ่งแสดงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และเกิดความครื้นเครง
        กิจกรรมที่ 3 การนำบทเพลงมาวิเคราะห์เนื้อหา และการนำไปใช้ในแต่ละช่วงอายุของวัย

  

เพลง อาเซียนร่วมใจ
     -เนื้อหาเกี่ยวกับ การร่วมมือร่วมใจ เพื่อมิตรภาพและความเป็นหนึ่งใจเดียวกันของประเทศในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ
     -วัตถุประสงค์ของเพลง ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเตรียมตัวพร้อมเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นการรวมตัวกันเพื่อให้เกิดความร่วมมือ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงทางการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยมีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา
     -บทเพลงนี้ฟังแล้วทำให้รู้สึก ในฐานะที่เรียนครู เพื่อการเตรียมพร้อมให้เด็กได้เปิดประตูบานเล็กๆที่เปิดกว้างให้เด็กๆ ได้ทำความรู้จักกับ เพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศสมาชิก อีกหนึ่งสื่อการเรียนรู้ชั้นดีที่ช่วยให้เด็กๆ เติบโตเป็นพลเมืองอาเซียนที่ดี และมีคุณภาพ พร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมั่นใจ
     -บทเพลงนี้ใช้ในการเรียนช่วงจังหวะ ของวัยปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยกำลังเรียนรู้และจดจำ เพื่อพัฒนาภาษา การฟังจังหวะการร้อง





                 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5


บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันศุกร์ที่ 19 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันนี้มีการคุยกันระหว่าง อาจารย์กับนักศึกษา
และให้นักศึกษา หาเพลงกล่อมเด็ก ของภาคตัวเองมา คนละ 1 เพลง
วันนี้ อาจารย์ ให้เลิกเรียนเร็วเนื่องจาก มีนักศึกษา ส่วนมาก ต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเอง


เพลงกล่อมเด็ก >> ภาคกลาง

เพลง เจ้านกขมิ้น

                      เจ้านกขมิ้นเหลืองอ่อนเอย            ค่ำแล้วจะนอนที่ไหนกัน
                      จะนอนไหนก็นอนได้                      สุมทุมพุ่มไม้ก็เคยนอน
                      ลมพระพายพัดมาอ่อนอ่อน            เจ้าเคยจงมานอรังเอย






เพลงกล่อมลูกมาจากไหน?


                        มนุษย์ทุกชาติ ทุกภาษา และวัฒนธรรม ล้วนแต่มีเพลงพื้นเมือง หรือเพลงประจำถิ่น เอาไว้ร้องเล่นเป็นส่วนหนึ่งในทุกๆกิจกรรมของชีวิต เพลงกล่อมลูกก็เป็นหนึ่งในจำนวนบทเพลงเหล่านั้นเช่นกัน

                       เพลงกล่อมเป็นบทเพลงที่เก่าแก่ มีอายุยาวนานมากที่สุด นับตั้งแต่ที่มนุษย์ยังไม่มีภาษาพูด และยังไม่รู้จักการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเสียด้วยซ้ำ โดยเริ่มจากการเห่กล่อมด้วยกิริยาท่าทาง การโอบอุ้ม-โอบกอดลูกอย่างรักใคร่ทะนุถนอม และออกเสียงอือๆ ออๆ ในลำคอไปด้วย จากนั้นจึงค่อยๆพัฒนาเป็นเสียงสูงเสียงต่ำคล้ายเสียงดนตรี และในที่สุด เมื่อมีภาษาพูด เพลงกล่อมลูกแบบง่ายๆก็เกิดขึ้นตามภาษาพูดของแต่ละชนชาติต่างกันไป และวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนถึงทุกวันนี้ แต่ถ้าจะถามว่าเพลงกล่อมลูกมาจากไหน... ก็ต้องตอบว่ามาจากความรักของหัวใจแม่








วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4 

วันศุกร์ที่ 12 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556

- รู้จักวิธีการนำเสนอโดยต้องเชื่อมโยง ระหว่าง เนื้อหา และ วีดีโอ เพื่อสะท้อนให้เห็นและสร้างความเข้าใจ อย่างชัดเจน 
- พัฒนาการของเด็ก 2-4 ขวบ จากวีดีโอ เด็กสามารถต่อ จิ๊กซอ ภาพ ได้  มีพัฒนาการรวดเร็ว เน้นตัวเองเป็นศูนย์กลาง 
- พัฒนาการด้าน สติปัญญา ของเด็ก วัย 4-6 ขวบ จะเริ่มมีการใช้เหตุผล มากขึ้น 
- การเรียนรู้ มีองค์ ประกอบ ดังนี้ - แรงขับ , สิ่งเร้า และการเสริมแรง

   ทฤษฎีของการเรียนรู้ 

1. ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่อง 
2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำ 
    - องค์ประกอบของภาษา
1. พยางค์ และคำ
2. ความหมายของคำ
3. ประโยค
4. ความหมายของภาษา  
    -  ความหมายตามตัว         
    - ความหมายนัยประหวัด (เชิงอุปมา)


กิจกรรมในวันนี้ เพื่อการคิด การใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารได้

โดยให้ นักศึกษา แถวที่ 1 พูดสื่งที่เป็นของรักมากที่สุด ... เพราะอะไร?
> เพื่อฝึกการคิดอย่างมีเหตุผล และรู้จักการใช้ภาษาสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจมนความคิดของเรา

นักศึกษา แถวที่  2 พูดสิ่งที่เป็นของรัก โดยการโฆษณา สินค้า
> เพื่อให้รู้จักการใช้ภาษา ในการพูดโน้มน้าวใจ ให้ผู้อื่นเกิดความสนใจในสินค้า ได้

นักศึกษา แถวที่  3 พูดประชาสัมพันธ์ 
 > รู้จักการพูด โดยการบอกรายละเอียด ของงาน หรือสถานที่  ให้ผู้ฟังรับรู้ข่าวสารอย่างถูกต้อง 

นักศึกษา แถวที่  4 เล่าข่าวในสิ่งที่พบเห็น
 > สามารถบอกรายละเอียด และลำดับเหตุการณ์ของเรื่องที่เกิดขึ้นได้ 

 นักศึกษา แถวที่ 5 (4คนแรก) วาดรูป คนละ1 รูป แล้วแต่งเป็นเรื่องราว
> เพื่อส่งเสริมจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักผูกเรื่องราว ให้สัมพันธ์ กับรูปภาพ และสื่อสารได้ดี

นักศึกษา แถวที่  5 (4คนหลัง) ร้องเพลงเด็ก คนละ 1 เพลง
> เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา การใช้น้ำเสียง อย่างเหมาะสม

                                                        * เพิ่มทักษะทางภาษาการฟัง พูด อ่าน เขียน *


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3  

วันศุกร์ที่ 5  เดือน กรกฎาคม  พ.ศ. 2556

   แต่ละกลุ่มนำเสนองานหน้าชั้นเรียน  มีทั้งหมด 4 กลุ่ม 

กลุ่มที่ 1 พัฒนาการทางด้านสติปัญญาของ เพียเจท์ โดยแบ่ง ออกเป็น 4    ขั้นตอน ได้แก่ 
              1 ขั้นประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว
              2 ขั้นความคิดก่อนเกิดปฏิบัติการ
              3 ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม
              4 ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม

กลุ่มที่ 2  นำเสนอพัฒนาการด้านสติปัญญาช่วงอายุ 0 - 2 ปี จะเห็นว่าเด็กชอบลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัส ทั้ง ห้า เด็ก 6 เดือน จะชอบเล่นกระจกมาก  จากวีดีโอในการนำเสนอ เด็ก 2  ขวบ สามารถ บอกลักษณะ วงกลม สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม รูปดาวได้ถูกต้อง 

กลุ่มที่ 3 พัฒนาการด้านสติปัญญาช่วงอายุ 2 - 4 ปี  เด็กจะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง  เด็กสามารถบอกสี ได้ถูกต้อง 

กลุ่มที่ 4 การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย การใช้สื่อการเรียนการสอน ให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก 

        -  ได้รู้จักวิธีการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน  การแนะนำตัว และการพูด ได้คำแนะนำจาก อาจารย์ ในการทำพาวเว่อร์พอยท์ และการจัดรูปแบบการนำเสนอ ในหลายๆ รูปแบบ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึก สนุกสนาน และสนใจในเรื่องที่เรานำเสนอ


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


 วันศุกร์ที่ 28 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 

                      - ไม่มีการเรียนการสอนแต่มีกิจกรรมรับน้องครั้งใหญ่ ใช้ภาษาสื่อสารกัน โดยรุ่นพี่ จะต้องสื่อสารกันให้ดี และจะต้องสื่อสารกับรุ่นน้อง ให้รุ่นน้องเข้าใจ ทั้งน้ำเสียง กิริยา ท่าทาง เพลง จังหวะ การพบปะพูดคุยเพื่อสร้างความสามัคคี ความรู้จัก ความสนิทสนม และความเป็นหนึ่งเดียวกันของ รุ่นพี่และรุ่นน้อง ในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย


                   ประมวลภาพกิจกรรมรับน้อง สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย


รุ่นพี่ และรุ่นน้อง ร้องเล่นเต้นรำกัน อย่างครึกครื้น  ^^


><  รุ่นพี่บูมรับรุ่นน้อง  ><  
วี๊ดดดดดดดดด บู้ม
Baby baby Early Childhood
Baby baby Early Childhood
Education  ปฐมวัย  ^^


รับประทานอาหารมื้อเที่ยง 
ผลัดกันป้อน ผลัดกันกิน  อร่อยมากๆ ค่ะ


รุ่นพี่นอนรับแดด สบายใจจังเลย  ^-^ 
เย้ๆๆๆๆๆๆๆ 


บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1

วันศุกร์ ที่ 21 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2556

ความรู้ และทักษะที่ได้รับ =>  หัวข้อหลักของ "ภาษา" แบ่งออกเป็น 10 ส่วนดังนี้ 

1. ความหมาย และความสำคัญ
2.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
    2.1 อายุแรกเกิด - 2 ปี
    2.2 อายุ 2-6 ปี => 2-4 ปี
                         => 4-6 ปี
3.ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้ 
4. วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
5. นักการศึกษาทางด้านภาษา
6. องค์ประกอบของภาษา
7. หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษา
กิจกรรม => ให้นักศึกษา แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน  10 กลุ่ม 

                      สำหรับกลุ่มของ ดิฉัน ได้หาความหมายและความสำคัญของภาษา  โดยได้ดำเนินการโดยการวางแผนให้สมาชิกในกลุ่ม แบ่งหน้าที่กันทำงาน ได้ไปศึกษาจากห้องสมุดของมหาวิทยาลัย และ ค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต   จากนั้นให้สมาชิกในกลุ่มร่วมกันเสนอ และออกความคิดเห็น ของ รูปแบบในการนำเสนอ