วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 

วันศุกร์ที่ 26 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556                                                  

    วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรม คือ
  กิจกรรมที่ 1 ให้ทำสื่อการสอนเพื่อพัฒนาทางด้านภาษาของเด็ก กลุ่มของดิฉันทำ อุปกรณ์เครื่องครัว 
- สิงที่ได้รับคือ  เด็กได้เรียนรู้ว่าอุปรณ์ในครัวเรือน คืออะไร มีอะไรบ้าง หลักการใช้งานเป็นอย่างไร และที่สำคัญคือ เด็กได้เรียนรู้ภาษา เช่น คำว่า หม้อ เขียนอย่างไร ทำให้เด็กเกิดประสบการณ์ในการฟัง การสังเกต และสามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ และมีความสนุกสนานในการเรียน 
           ตัวอย่าง -->

กิจกรรมที่2 ให้นำเพลงกล่อมเด็กมาขับร้องเป็นกลุ่มและกลุ่มของดิฉันขับร้องในเพลง โยกเยก
บทเพลงกล่อมเด็ก ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางภาษา และจังหวะ ทำนองของเพลง แต่ละเพลงก็จะแสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละภาค ซึ่งแสดงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และเกิดความครื้นเครง
        กิจกรรมที่ 3 การนำบทเพลงมาวิเคราะห์เนื้อหา และการนำไปใช้ในแต่ละช่วงอายุของวัย

  

เพลง อาเซียนร่วมใจ
     -เนื้อหาเกี่ยวกับ การร่วมมือร่วมใจ เพื่อมิตรภาพและความเป็นหนึ่งใจเดียวกันของประเทศในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ
     -วัตถุประสงค์ของเพลง ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเตรียมตัวพร้อมเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นการรวมตัวกันเพื่อให้เกิดความร่วมมือ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงทางการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยมีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา
     -บทเพลงนี้ฟังแล้วทำให้รู้สึก ในฐานะที่เรียนครู เพื่อการเตรียมพร้อมให้เด็กได้เปิดประตูบานเล็กๆที่เปิดกว้างให้เด็กๆ ได้ทำความรู้จักกับ เพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศสมาชิก อีกหนึ่งสื่อการเรียนรู้ชั้นดีที่ช่วยให้เด็กๆ เติบโตเป็นพลเมืองอาเซียนที่ดี และมีคุณภาพ พร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมั่นใจ
     -บทเพลงนี้ใช้ในการเรียนช่วงจังหวะ ของวัยปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยกำลังเรียนรู้และจดจำ เพื่อพัฒนาภาษา การฟังจังหวะการร้อง





                 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5


บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันศุกร์ที่ 19 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันนี้มีการคุยกันระหว่าง อาจารย์กับนักศึกษา
และให้นักศึกษา หาเพลงกล่อมเด็ก ของภาคตัวเองมา คนละ 1 เพลง
วันนี้ อาจารย์ ให้เลิกเรียนเร็วเนื่องจาก มีนักศึกษา ส่วนมาก ต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเอง


เพลงกล่อมเด็ก >> ภาคกลาง

เพลง เจ้านกขมิ้น

                      เจ้านกขมิ้นเหลืองอ่อนเอย            ค่ำแล้วจะนอนที่ไหนกัน
                      จะนอนไหนก็นอนได้                      สุมทุมพุ่มไม้ก็เคยนอน
                      ลมพระพายพัดมาอ่อนอ่อน            เจ้าเคยจงมานอรังเอย






เพลงกล่อมลูกมาจากไหน?


                        มนุษย์ทุกชาติ ทุกภาษา และวัฒนธรรม ล้วนแต่มีเพลงพื้นเมือง หรือเพลงประจำถิ่น เอาไว้ร้องเล่นเป็นส่วนหนึ่งในทุกๆกิจกรรมของชีวิต เพลงกล่อมลูกก็เป็นหนึ่งในจำนวนบทเพลงเหล่านั้นเช่นกัน

                       เพลงกล่อมเป็นบทเพลงที่เก่าแก่ มีอายุยาวนานมากที่สุด นับตั้งแต่ที่มนุษย์ยังไม่มีภาษาพูด และยังไม่รู้จักการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเสียด้วยซ้ำ โดยเริ่มจากการเห่กล่อมด้วยกิริยาท่าทาง การโอบอุ้ม-โอบกอดลูกอย่างรักใคร่ทะนุถนอม และออกเสียงอือๆ ออๆ ในลำคอไปด้วย จากนั้นจึงค่อยๆพัฒนาเป็นเสียงสูงเสียงต่ำคล้ายเสียงดนตรี และในที่สุด เมื่อมีภาษาพูด เพลงกล่อมลูกแบบง่ายๆก็เกิดขึ้นตามภาษาพูดของแต่ละชนชาติต่างกันไป และวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนถึงทุกวันนี้ แต่ถ้าจะถามว่าเพลงกล่อมลูกมาจากไหน... ก็ต้องตอบว่ามาจากความรักของหัวใจแม่








วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4 

วันศุกร์ที่ 12 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556

- รู้จักวิธีการนำเสนอโดยต้องเชื่อมโยง ระหว่าง เนื้อหา และ วีดีโอ เพื่อสะท้อนให้เห็นและสร้างความเข้าใจ อย่างชัดเจน 
- พัฒนาการของเด็ก 2-4 ขวบ จากวีดีโอ เด็กสามารถต่อ จิ๊กซอ ภาพ ได้  มีพัฒนาการรวดเร็ว เน้นตัวเองเป็นศูนย์กลาง 
- พัฒนาการด้าน สติปัญญา ของเด็ก วัย 4-6 ขวบ จะเริ่มมีการใช้เหตุผล มากขึ้น 
- การเรียนรู้ มีองค์ ประกอบ ดังนี้ - แรงขับ , สิ่งเร้า และการเสริมแรง

   ทฤษฎีของการเรียนรู้ 

1. ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่อง 
2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำ 
    - องค์ประกอบของภาษา
1. พยางค์ และคำ
2. ความหมายของคำ
3. ประโยค
4. ความหมายของภาษา  
    -  ความหมายตามตัว         
    - ความหมายนัยประหวัด (เชิงอุปมา)


กิจกรรมในวันนี้ เพื่อการคิด การใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารได้

โดยให้ นักศึกษา แถวที่ 1 พูดสื่งที่เป็นของรักมากที่สุด ... เพราะอะไร?
> เพื่อฝึกการคิดอย่างมีเหตุผล และรู้จักการใช้ภาษาสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจมนความคิดของเรา

นักศึกษา แถวที่  2 พูดสิ่งที่เป็นของรัก โดยการโฆษณา สินค้า
> เพื่อให้รู้จักการใช้ภาษา ในการพูดโน้มน้าวใจ ให้ผู้อื่นเกิดความสนใจในสินค้า ได้

นักศึกษา แถวที่  3 พูดประชาสัมพันธ์ 
 > รู้จักการพูด โดยการบอกรายละเอียด ของงาน หรือสถานที่  ให้ผู้ฟังรับรู้ข่าวสารอย่างถูกต้อง 

นักศึกษา แถวที่  4 เล่าข่าวในสิ่งที่พบเห็น
 > สามารถบอกรายละเอียด และลำดับเหตุการณ์ของเรื่องที่เกิดขึ้นได้ 

 นักศึกษา แถวที่ 5 (4คนแรก) วาดรูป คนละ1 รูป แล้วแต่งเป็นเรื่องราว
> เพื่อส่งเสริมจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักผูกเรื่องราว ให้สัมพันธ์ กับรูปภาพ และสื่อสารได้ดี

นักศึกษา แถวที่  5 (4คนหลัง) ร้องเพลงเด็ก คนละ 1 เพลง
> เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา การใช้น้ำเสียง อย่างเหมาะสม

                                                        * เพิ่มทักษะทางภาษาการฟัง พูด อ่าน เขียน *


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3  

วันศุกร์ที่ 5  เดือน กรกฎาคม  พ.ศ. 2556

   แต่ละกลุ่มนำเสนองานหน้าชั้นเรียน  มีทั้งหมด 4 กลุ่ม 

กลุ่มที่ 1 พัฒนาการทางด้านสติปัญญาของ เพียเจท์ โดยแบ่ง ออกเป็น 4    ขั้นตอน ได้แก่ 
              1 ขั้นประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว
              2 ขั้นความคิดก่อนเกิดปฏิบัติการ
              3 ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม
              4 ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม

กลุ่มที่ 2  นำเสนอพัฒนาการด้านสติปัญญาช่วงอายุ 0 - 2 ปี จะเห็นว่าเด็กชอบลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัส ทั้ง ห้า เด็ก 6 เดือน จะชอบเล่นกระจกมาก  จากวีดีโอในการนำเสนอ เด็ก 2  ขวบ สามารถ บอกลักษณะ วงกลม สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม รูปดาวได้ถูกต้อง 

กลุ่มที่ 3 พัฒนาการด้านสติปัญญาช่วงอายุ 2 - 4 ปี  เด็กจะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง  เด็กสามารถบอกสี ได้ถูกต้อง 

กลุ่มที่ 4 การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย การใช้สื่อการเรียนการสอน ให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก 

        -  ได้รู้จักวิธีการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน  การแนะนำตัว และการพูด ได้คำแนะนำจาก อาจารย์ ในการทำพาวเว่อร์พอยท์ และการจัดรูปแบบการนำเสนอ ในหลายๆ รูปแบบ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึก สนุกสนาน และสนใจในเรื่องที่เรานำเสนอ


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


 วันศุกร์ที่ 28 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 

                      - ไม่มีการเรียนการสอนแต่มีกิจกรรมรับน้องครั้งใหญ่ ใช้ภาษาสื่อสารกัน โดยรุ่นพี่ จะต้องสื่อสารกันให้ดี และจะต้องสื่อสารกับรุ่นน้อง ให้รุ่นน้องเข้าใจ ทั้งน้ำเสียง กิริยา ท่าทาง เพลง จังหวะ การพบปะพูดคุยเพื่อสร้างความสามัคคี ความรู้จัก ความสนิทสนม และความเป็นหนึ่งเดียวกันของ รุ่นพี่และรุ่นน้อง ในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย


                   ประมวลภาพกิจกรรมรับน้อง สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย


รุ่นพี่ และรุ่นน้อง ร้องเล่นเต้นรำกัน อย่างครึกครื้น  ^^


><  รุ่นพี่บูมรับรุ่นน้อง  ><  
วี๊ดดดดดดดดด บู้ม
Baby baby Early Childhood
Baby baby Early Childhood
Education  ปฐมวัย  ^^


รับประทานอาหารมื้อเที่ยง 
ผลัดกันป้อน ผลัดกันกิน  อร่อยมากๆ ค่ะ


รุ่นพี่นอนรับแดด สบายใจจังเลย  ^-^ 
เย้ๆๆๆๆๆๆๆ 


บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1

วันศุกร์ ที่ 21 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2556

ความรู้ และทักษะที่ได้รับ =>  หัวข้อหลักของ "ภาษา" แบ่งออกเป็น 10 ส่วนดังนี้ 

1. ความหมาย และความสำคัญ
2.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
    2.1 อายุแรกเกิด - 2 ปี
    2.2 อายุ 2-6 ปี => 2-4 ปี
                         => 4-6 ปี
3.ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้ 
4. วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
5. นักการศึกษาทางด้านภาษา
6. องค์ประกอบของภาษา
7. หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษา
กิจกรรม => ให้นักศึกษา แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน  10 กลุ่ม 

                      สำหรับกลุ่มของ ดิฉัน ได้หาความหมายและความสำคัญของภาษา  โดยได้ดำเนินการโดยการวางแผนให้สมาชิกในกลุ่ม แบ่งหน้าที่กันทำงาน ได้ไปศึกษาจากห้องสมุดของมหาวิทยาลัย และ ค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต   จากนั้นให้สมาชิกในกลุ่มร่วมกันเสนอ และออกความคิดเห็น ของ รูปแบบในการนำเสนอ